วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝนหลวง

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ1.การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน2.การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน3.การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศและทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอนดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไปขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลายขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ 1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป 1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ 1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย 1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไปจากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลใน
เชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
http://www.prdnorth.in.th/The_King/rain.php

พระราชดำริพลังงานทดแทน เอทานอน

เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรง ครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตสถาน และดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการในพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาพลังงานทางเลือกมากมาย ในฐานะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและทำงานด้านพลังงาน ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เล่าถึงความประทับใจโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
" ผมอยากขอยกตัวอย่างโครงการในพระราชดำริ อาจไม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนโดยตรง แต่เป็นผลพลอยได้คือเรื่องเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนมีเขื่อนกรุงเทพฯน้ำท่วมทุกปี เสียหายปีละเป็นพันล้าน เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ปัญหาน้ำท่วมหายไปเลย เพราะฉะนั้นในแง่การป้องกันน้ำท่วมก็ได้ประโยชน์คุ้มค่าไม่รู้กี่เท่าตัว นอกจากนั้นชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์หลายๆ จังหวัดอาศัยน้ำท่วมในการทำเกษตรกรรม สมัยก่อนไม่เห็นไร่องุ่นแถวๆ นั้น มาตอนนี้เต็มไปหมดเลย และล่าสุดก็เพิ่งติดตั้งกังหันน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เท่ากับเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักฯเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างโดยไม่มีปัญหา ผมเข้าใจว่าท่านที่ดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านใช้เวลา 2 ปี อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจก่อนจึงเข้าไปทำเขื่อนเขื่อนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีใน การใช้ประโยชน์ในลักษณะหลายวัตถุประสงค์" ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความประทับใจในโครงการพระราชดำริเช่นกันว่า
"ถ้าใครมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวของเรา โดยเฉพาะโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจะได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวมาก พระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรยาวไกลมากในเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงมีโครงการหลายๆโครงการที่สวนจิตรลดา โครงการสำคัญที่เราคุยกันมากก็คงเป็นโครงการผลิตเอทานอล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ อย่างที่อาจารย์ปรีดาพูดว่าสมัยก่อนผลิตขึ้นมาแล้วเอาไปทดแทนน้ำมัน ดูเหมือนว่าไม่ค่อยคุ้ม เพราะเอทานอลราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน เพราะว่าเมื่อก่อนเราใส่ตะกั่วลงในน้ำมัน ต่อมาเรายกเลิกไม่ใส่ตะกั่ว ไปใส่ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งต้องไปซื้อจากเมืองนอก พอมาเทียบราคากับเอทานอลซึ่งใส่แทน MTBE ได้ ก็ปรากฏว่าราคาใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องไปนำเข้าสิ่งที่เราผลิตได้ภายใน ประเทศ....
โครงการเอทานอลของพระเจ้าอยู่หัว ฃเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากๆ คงเป็นเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ตอนนั้นทั้ง ปตท.และบางจากร่วมกันนำเอทานอลมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จำหน่าย เราทำมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นที่นิยม ส่วนเรื่องไบโอดีเซ, พระเจ้าอยู่หัวทรงมีโครงการไบโอดีเซลมาหลายปี เดิมทีพระองค์ท่านมองเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อมามีการสร้างโรงงานไบโอดีเซลในสวนจิตรลดา ปัจจุบันโรงงานไบโอดีเซลที่ทำอยู่สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดีมาก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางโครงการส่วนพระองค์ฯจัดทำขึ้นมา และวันนี้ก็มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลายกลายเป็นไบโอดีเซลชุมชนมาก ขึ้น"
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววเป็นแนวทางให้ทั้งรับบาลและ เอกชนดำเนินการพัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปได้ใน เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล
เอทานอล
เอทานอลสามารถผลิตได้จากพืชหลายชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เซลลูโลส ฯลฯ พืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มในการพัฒนาและข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ให้ข้อมูลว่า
" ประมาณ ๕ ปีก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายเรื่องเอทานอล คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามแนวพระราชดำริดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตเอทานอล ซึ่งประเทศไทยใช้อ้อยและมันสำปะหลัง...
"พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล"
พืชอีกสองชนิดที่คาดว่าน่าจะนำมาผลิตเอทานอลได้คือ ข้างฟ่างหวาน ซึ่งใช้ในการผลิตส่าเหล้า ราคาไม่ได้แพงกว่ามันสำปะหลัง น่าสนใจมาก เพราะปลูกได้ดีในแถบอีสาน ตอนนี้กำลังทำวิจัยว่าถ้ามรการผลิตในเชิงพาณิชย์ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีโอกาสมากที่จะเป็นพืชสำรองให้กับมันสำปะหลัง...
ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งคือ แก่นตะวัน หรือเจรูซาเลม อาร์ติโชก เป็นพืชรับประทานที่มทีน้ำตาลสูงมาก ใช้เวลาเติบโต ๔ เดือน ก็น่าสนใจมาก แต่ข้อมูลยังน้อยอยู่ ต้องวิจัยเพิ่มเติม...
ในสหรัฐอเมริกาเขาเป็นห่วงเรื่องพืชอาหารมาก เพราะเขาทำเอทานอลจากข้าวโพด ปีที่แล้วประธานาธิบดีบุชให้เงินวิจัยเรื่องเซลลูโลสซึ่งมันคือน้ำตาลที่ใช้ ทำแอลกอฮอล์ รวมไปถึงฟางข้าว ต้นพืชทั้งหลายที่อยู่ในไร่นา ว่าสามารถนำมาทำเอทานอลได้หรือไม่ เพราะต้องการสงวนพืชอาหารเอาไว้"
แม้ว่าประเทศไทยยกเลิกการเดินสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินในปี พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ก็ต้องนำเข้าสารเพิ่มออกเทนอีกตัวคือ MTBE ต่อมาพบว่าสามารถนำเอทานอลมาใช้แทนสาร MTBE ได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป จะมีการยกเลิกการเติมสาร MTBE ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศเช่นกัน โดยเปลี่ยนมาใช้เอทานอลแทน นโยบายดังกล่าวนอกจากจะดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้ประเทศประหยัดเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ประเด็นนี้ ดร.อนุสรณ์ ให้ความเห็นว่า
"ประเทศเราต้องนำเข้าพลังงานปีหนึ่งประมาณแปดแสนล้านบาท ขณะที่เราส่งออกพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่า ข้าว มัน อ้อย ไม่กี่แสนล้าน เทียบกับการนำเข้าพลังงานไม่ได้เลย การนำเอทานนอลไปทดแทน MTBE หรือทดแทนน้ำมันในเบนซิน ๙๕ และ ๙๑ ได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับต้องใช้เอทานอลประมาณวันละสองล้านกว่าลิตร ซึ่งทำให้รัฐเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตไปปีละสามพันล้านบาท แต่ถ้ามองในทางกลับกันการใช้เอทานอลทดแทน MTBE จะฃ่วยให้เราลดการนำเข้าไปหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาทต่อปี เท่ากับมีเงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท...
ทุกวันนี้เรามีเอทานอลที่ค้าขายกันอยู่ประมาณห้าแสนกว่าลิตรต่อวัน สิ้นปีนี้โรงงานผลิตเอทานอลที่กำลังจะเปิดคาดว่าจะผลิตเอทานอลได้เก้าแสนถึง หมื่นล้านลิตรต่อวัน ปีหน้าเราต้องการเอทานอลประมาณแปดแสนลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่าการผลิตและความต้องการใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ภาครัฐกำลังทำอยู่ตอนนี้ก็คือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากโรงงานที่ผลิตเอทานอลเกิดปิดโรงงาน หรือมีเหตุขัดข้องผลิตเอทานอลไม่ได้ตามจำนวนที่ต้องใช้ รัฐบาลก็เลยบอกว่าจะนำเข้าสัก ๓๐ ล้านลิตร เก็บไว้เป็นสต๊อกในยามฉุกเฉิน คือในกณฃรณั้เกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วไม่มีซัปพลายเพียงพอเข้ามาในตลาด ก็สามารถใช้เอทานอลที่เก็บเอาไว้มาใช้ได้...
ปัจจุบันประเทศไทยเติมเอทานอลแทนน้ำมันเบนซิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างเช่นบราซิลใช้เอทานอลผสมน้ำมันเบนซินในอัตราส่วนที่ มากกว่านี้...
ทุกวันนี้มีโรงงานมาขออนุญาตกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดโรงงานเอทานอล ๓๐ แห่ง ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตได้ถึงประมาณวันละ ๕-๖ ล้านลิตร ในขณะที่เราใช้แค่วันละ ๒ ล้านลิตร ที่เหลืออีก ๓ ล้านลิตรจะเอาไปไว้ที่ไหน การจะส่งออกอาจไม่ง่าย เพราะบราซิลก็ผลิต รัฐอาจต้องมองต่อไปเหมือนในต่างประเทศซึ่งเขามี E20, E25, E85, E100 (คือใส่เอทานอลแทนน้ำมัน ๒๐, ๒๕, ๘๕, ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ)...
ประเทศไทยจึงไม่น่าจะหยุดที่ E10 อย่าง E100 มีคนมาคุยกับผมว่า ทำไมเราต้องทำแอลกอฮอล์ ๙๙.๕ ด้วย เพราะจาก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์นี่ เอาน้ำออกอีก ๕ เปอร์เซ็นต์ มันใช้เงินอีกเยอะมากเลย เลยมีคำถามว่า ทำไมเราไม่ทำเป็น E100 เหมือนในบราซิล ในบราซิล E100 ที่เขาขาย เขาเรียกแอลกอฮอล์ครับ ความเข้มขนไม่ใช่ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แค่ ๙๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เขาอนุญาตให้มีน้ำได้อีก ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีปัญหากับการใช้งาน มันก็เลยเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่า ถ้าเรามี E100 เกิดขึ้น เรามีแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ก็พอนะ ไม่ต้องไปถึง ๙๙.๕ นะ เพราะไอ้ ๕ เปอร์เซ็นต์หลังนี่ ระบบแยกน้ำออกนี่มันแพงเหลือเกิน"
ไบโอดีเซล
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาทดลองการนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวน้ำมันปาล์มล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ เป็นผลให้เกษตรกรเดือดร้อน
ปัจจุบันโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว จากห้องเครื่องสำนักพระราชวัง มาผลิตด้วยกระบวนการเอทิลเอสเทอริฟิเคชั่น (Ethyl Esterification) โดยใช้เอทานอลจากหอกลั่นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สามารถผลิตได้วันละ ๑,๐๐๐ ลิตร และยังได้ผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือกลีเซอรีน ซึ่งนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเรื่องอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป
วัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลนอกจากปาล์มแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาอธิบายว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นก็นำมาใช้ได้เช่นกัน
"น้ำมันพืชทุกอย่างใช้ได้อยู่แล้ว เคยลองน้ำมันพืช ๕-๖ ตัว กับเครื่องยนต์ประเภทความเร็วต่ำ (low-speed engine) เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอำไร ขณะนี้ใช้ปาล์มน้ำมันมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารด้วย และมีสำรองประมาณ ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ในสภาพปัจจุบัน ถามว่าเพิ่มได้ไหม มีข้อแม้ว่าถ้าเพิ่มต้องไม่ไปถางป่าใช่ไหม ถ้าไม่ถางป่าก็แปลว่าต้องไปปลูกแทนพืชอื่น ช่วงหนึ่งบอกราคายางไม่ดี ก็เสนอทดแทนด้วยสวนปาล์ม แต่ ๔-๕ ปีมานี้ อุตสาหกรรมรถยนต์กับความต้องการรถยนต์ในจีนมหาศาล จีนซื้อยางไม่จำกัด ราคายางก็เลยขึ้น ก็ไม่มีใครเปลี่ยนมาปลูกปาล์ม แม้กระทั่งทางภาคตะวันออก มีเพื่อปลูกเงาะกับทุเรียนยังบอกว่าจะโค่นต้นเงาะไปปลูกยางแทน เพราะมีดินกับน้ำคล้ายกัน ผมเลยห่วงว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะปลูกน้ำมันปาล์มมีพอหรือเปล่า เคยมีโครงการจะปลูกรอบๆ แถวทะเลสาบสงขลา ทางสงขลาไม่ยอม เขากลัวน้ำเสียลงทะเลสาบ มีนมีหลายเรื่องต้องดู...
สบู่ดำเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จากโครงการที่ให้ไปทำวิจัยสบู่ดำดีที่สุดของบ้านเรา มันจะได้ประมาณพันกิโลกรัมต่อไร่ ความคุ้มค่ายังไม่ดีพอ เพราะภาระอยู่ที่การพพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำ ที่น่าสนใจคือ สบู่ดำไม่ใช่อาหาร ตัวใบและต้นมันมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรเนื่องจากมันไม่เป็นอาหาร มันน่าจะตัดต่อพันธุกรรมเพื่อขยายพันธุ์ได้ ถ้าบอกจะไปตัดต่อพันธุกรรมกับน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมคงไม่ยอม เพราะจะมีปัญหาเรื่องส่งออกไปต่างประเทศ โดนเฉพาะประเทศที่เคร่งศาสนา เขาถือว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิ์ไปสร้างชีวิต แต่สบู่ดำไม่ใช่อาหาร มันก็น่าจะเลี่ยงได้"
พลังงานทางเลือกอื่นๆ
นอกเหนือจากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบโอดีเซลแล้ว ก็ยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาเสนอความคิดเห็นว่า
"ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่นำพลังงานลมมาใช้อย่างจริงจัง มีแต่เป็นแบบทดลองของ กฟผ.ที่แหลมพรหมเทพ แต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยไม่เหมือนในยุโรปจะใหญ่มาก อย่างที่เยอรมนี ชาวนาสามารถกู้เงินแบงก์มาตั้งกังหันลม แล้วขายไฟฟ้ากลับไป เขาทำนา ไม่ได้เสียอะไร...
ในอดีตเราวัดลมที่ ๑๐ เมตร เราก็บอกว่าพลังลมของเมืองไทยศักยภาพต่ำ ในเวลานั้นการติดกังหันลมต้องการลมประมาณ ๕ เมตรต่อวินาที แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดีขึ้น ลม ๓ เมตรต่อวินาทีก็ทำงานได้แล้ว ซึ่งหากวัดพลังงานลมในระดับ ๔๐ เมตร ลมก็จะแรงขึ้น หรือตามชายทะเลบนเกาะ ลมในระดับ ๔๐ เมตร ๑๐๐ เมตรน่าจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่ว่าที่ไหนเหมาะสมจะทำกังหันลมไปติดแล้วสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้จริง เพราะสองฝั่งทะเลทั้งตะวันตกและตะวันออกรวมเป็นระยะทางเกือบสองพันกิโลเมตร เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก...
ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่ายังไม่คุ้มค่าถ้ามีสายไฟเข้าไปถึงแล้ว เพราะเทคโนโลยีในขณะนี้ยังใช้ซิลิกอนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งยังไม่ได้ผลดีนักเมื่อเทียบกับการลงทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีศักยภาพ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยกันอยู่"
ดร.อนุสรณ์เสริมว่า
"ผมมองว่าประเทศเราเป็นประเทศร้อน แสงอาทิตย์เยอะมาก การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มันเป็นต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่จริงๆ เราก็ไม่ยอมแพ้ ผมมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อะไรมากมาย ขอให้ทำแล้วสามารถนำไปใช้ได้ ก็น่าจะทำตรงนั้น"
"การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไรใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงานกับหาพลังงานทดแทน"
อนาคตของการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดามีความเห็นว่า "การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร ใช้เมื่อไหร่ ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้ มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน กับหาพลังงานทดแทน"
"พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอลไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่ก็คือ ทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและยั่งยืน จะต้องผสมผสานกันหลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศได้อย่างยั่งยืนละยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"
ขณะที่ ดร.อนุสรณ์สรุปว่า
"พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่ก็คือทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและยั่งยืนจะต้องผสมผสานกันหลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศได้อย่าง ยั่งยืนและยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"
เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยคุณเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักงานแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อ "การพัฒนาพลังงานทดแทน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
แนวพระราชดำริในด้านการพัฒนาพลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวพระราชดำริซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ สายพระเนตรอันยาวไกล ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่าช่วยให้การพัฒนาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ แก๊สโซฮอลล์และไบโอดีเซลในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์วิกฤติพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันคุณเมตตา บันเทิงสุข อธิบายเพิ่มเติมว่า

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่งงาน


จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ1.การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน2.การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน3.การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศและทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอนดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไปขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลายขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ 1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป 1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ 1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย 1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไปจากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลใน
เชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
http://www.prdnorth.in.th/The_King/rain.php